- คำนิยาม
-
จริยธรรมธุรกิจ |
หมายถึง แนวทางปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วยความยุติธรรม และความถูกต้อง ในการประกอบธุรกิจ
เพื่อรักษาชื่อเสียงและเกียรติคุณของบริษัท |
กลุ่มบริษัทแม็คกรุ๊ป (“บริษัท”) |
หมายถึง บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รวมถึงบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม
และตัวแทนทางธุรกิจ |
กรรมการ |
หมายถึง กรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย |
ผู้บริหาร |
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร/ ประธานเจ้าหน้าที่/ ผู้อำนวยการอาวุโส/ ผู้อำนวยการ/ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ/
ผู้จัดการ |
พนักงาน |
พนักงานตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการหรือเทียบเท่าลงมา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว
หรือพนักงานตามสัญญาจ้างพิเศษ |
ทรัพย์สิน |
ทรัพย์สินทั้งที่เป็นสังหาและอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี ลิขสิทธิ์ เอกสารสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของบริษัท |
ข้อมูลบริษัทฯ |
หมายถึง ข้อมูลที่บริษัท เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ควบคุม ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจทั้งปัจจุบันและอนาคต |
ผู้มีส่วนได้เสีย |
หมายถึง บุคคล และ/หรือนิติบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ได้แก่
ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า ลูกค้า เจ้าหนี้ ตลอดจนชุมชนและสังคม |
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ |
หมายถึง การดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่อาจมีความต้องการส่วนตัว หรือของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางสายเลือด
หรือทางอื่นใด เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือ อาจขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรคต่อประโยชน์สูงสุด |
ความโปร่งใส |
หมายถึง การเปิดเผยที่มา วิธีการดำเนินงาน
และเหตุผลของการตัดสินใจให้สาธารณะรับทราบได้ภายใต้กรอบของระเบียบและกฎหมาย |
ความซื่อสัตย์สุจริต |
หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท |
ความสำนึกในหน้าที่ |
หมายถึง ทราบในหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ |
ความรับผิดชอบต่อ ผลของการปฏิบัติหน้าที่ |
หมายถึง การยอมรับผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในเชิงบวกและลบ |
- จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
-
1 แนวทางในการดำเนินธุรกิจ
วิสัยทัศน์ :
บริษัทมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำของเอเชีย ด้านเครื่องแต่งกายและสินค้าที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
ด้วยการบริหารจัดการแบรนด์หลากหลาย ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่าง
และมุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสีย และลูกค้าของเราด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม
ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม และการบริการที่มีคุณภาพ
ค่านิยมองค์กร :
M : Motivation แรงจูงใจ ในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า
C : Commitment ความยึดมั่น ในคำสัญญาต่อลูกค้าและคู่ค้า บนหลักการดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต
W : Willingness ความตั้งใจ ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดทั้งสินค้าและบริการ
A : Appreciation การชื่นชมยินดี เคารพในการทำงานของผู้อื่น ให้เกียรติและมีน้ำใจต่อกัน
Y : Yes-minded ความคิดบวก พร้อมแก้ไขปัญหาในทุกสถานการณ์ และเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก
โดยบริษัท มีหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติตาม “นโยบายการกำกับดูแลกิจการ” และ “จริยธรรมธุรกิจ” ของบริษัท
- มุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรม
- ยึดมั่นในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และมีจิตสำนึกที่ดี
- คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ด้วยความเสมอภาค และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
- ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม
- สร้างระบบงานที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันการทุจริต ผ่านระบบการควบคุมภายในที่ดี
- กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชั่น รายงานความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน
- เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีช่องทางการร้องเรียนและรับฟังความคิดเห็น รวมถึงมีมาตรการคุ้มครอง ผู้ร้องเรียน
หรือผู้แจ้งเบาะแส
2 นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และ
ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมธุรกิจอย่างเคร่งครัด
ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจว่า กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัทแม็คกรุ๊ป จะปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์
สุจริต และโปร่งใส จึงเห็นควรกำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ดังนี้
“ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัท เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชั่น ในทุกรูปแบบ
ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน ผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อประโยชน์ ทางธุรกิจ
ไม่ว่าตนจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้ หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
โดยครอบคลุมถึงธุรกิจในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ
และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
ทั้งนี้ หากมีการฝ่าฝืนกระทำการใดๆ อันเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือ
หรือให้ความร่วมมือกับการคอร์รัปชั่นจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่บริษัทฯ กำหนดไว้
และอาจจะได้รับโทษทางกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย”
และเพื่อให้การต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติ รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ไว้ใน
“นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดเช่นกัน
3 ระเบียบการให้หรือรับเงินสนับสนุน ของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง และการบริจาคเพื่อการกุศล
หรือสาธารณะประโยชน์
การให้หรือรับการสนับสนุนใดๆ ซึ่งรวมถึงเงิน ทรัพย์สิน
หรือการเลี้ยงรับรองกับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจต้องเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยต้องมีมูลค่าเหมาะสม และไม่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจที่ไม่ชอบธรรม
หรือใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
บริษัทจึงประกาศใช้ระเบียบการให้หรือรับเงินสนับสนุน ของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง และการบริจาคเพื่อการกุศล
หรือสาธารณะประโยชน์ เพื่อให้พนักงานในบริษัท ถือเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ดังนี้
- ห้ามมิให้ผู้บริหาร และพนักงาน ให้ รับ หรือ ขอเรี่ยไรของขวัญ เช่น การเลี้ยงรับรอง การให้บริการ
การสนับสนุนทางการเงิน หรือ เงินรางวัล จากคู่ค้าและเจ้าหนี้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท
- ห้ามให้หรือรับสิ่งของหรือผลประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นที่มีหน้าที่
หรือธุรกิจเกี่ยวข้องกับองค์กรเว้นแต่ในโอกาสหรือเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่คนทั่วไปพึงปฏิบัติต่อกัน
โดยสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดนั้น ต้องมีราคาหรือมูลค่าการรับในแต่ละโอกาส ไม่เกิน สามพัน (3,000) บาท
ในกรณีของนั้นมีมูลค่าเกินกว่า สามพัน (3,000) บาท
จะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นหนังสือและนำผลประโยชน์หรือของขวัญนั้นส่งให้บริษัท
โดยการรับสิ่งของดังกล่าวต้องไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด โดยไม่เป็นธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่
และจะต้องได้รับการสอบทานและอนุมัติตามระเบียบอำนาจอนุมัติดำเนินงานของบริษัท
- กรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานเป็นตัวแทนของบริษัท ในการร่วมงานเลี้ยงของคู่ค้า
หรือเดินทางไปอบรม/ดูงานนอกสถานที่ และได้รับผลประโยชน์หรือของขวัญมีมูลค่าเกินกว่า สามพัน (3,000) บาท
ไม่ว่าจะได้มาจากการชิงโชค จับฉลาก หรือรับของที่ระลึก
ให้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นหนังสือและนำผลประโยชน์หรือของขวัญนั้นส่งให้บริษัท
- การให้หรือรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ (2) และ (3)
ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลหรือระหว่างองค์กรให้ผู้รับรายงานให้ผู้บังคับบัญชาของตนทราบ
และส่งมอบสิ่งของนั้นให้ส่วนกลาง ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ ภายใน
ห้า (5) วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อบันทึกเป็นทะเบียนของขวัญ
และพิจารณาดำเนินการ
4 การใช้สิทธิทางการเมือง
บริษัทมีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ให้การสนับสนุน หรือช่วยเหลือทางการเงิน ทรัพยากร
หรือทรัพย์สินใดๆ ของบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแก่นักการเมือง พรรคการเมือง หรือกลุ่มทางการเมืองใดๆ
เพื่อประโยชน์แก่กลุ่มบุคคลดังกล่าว
ทั้งนี้บริษัทสนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมการทางการเมืองได้
ภายใต้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมใดๆ
ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจว่าบริษัท มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือให้การสนับสนุนแก่นักการเมือง พรรคการเมือง
หรือกลุ่มพลังงานทางการเมืองใดๆ
- จริยธรรมบริษัท
-
บริษัทมุ่งหวังให้กรรมการ กรรมการชุดย่อย และกรรมการของบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่
บริษัทมีอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรม ดำรงตน หรือปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ
เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของบริษัท ดังนี้
1 การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.1 ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ดังนี้
- กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมธุรกิจของบริษัท
รวมถึงนโยบายอื่นๆ ที่ได้มีการประกาศใช้
1.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง และหากในการประชุมมีเรื่องที่กรรมการท่านใดมีส่วนได้เสีย
กรรมการท่านนั้นจะต้องออกจากห้องประชุมและงดการมีส่วนร่วมใดๆในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
1.3 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อความโปร่งใส และบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- ไม่นำข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
- ไม่ใช้ความลับองค์กรในทางที่ผิด และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนที่เป็นความลับขององค์กร
แม้พ้นสภาพหรือสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ไปแล้ว
- ไม่หาประโยชน์ส่วนตัว จากการเป็นกรรมการของบริษัท
- ไม่สร้างข้อผูกมัดที่อาจจะขัดแย้งกับหน้าที่ของตนภายหลัง
- ไม่รับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ขององค์กร
1.4 รักษาข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร ไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือผู้มีส่วนได้เสีย ยกเว้นแต่ในกรณีที่เป็นไปตามกฎหมาย
1.5 การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์จดทะเบียนของกรรมการ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง
การปฏิบัติเกี่ยวกับการได้มาหรือการจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของกรรมการและพนักงาน พ.ศ. 2547
2 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
2.1 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทมีนโยบายที่มิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ของบริษัท
แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง จึงกำหนดข้อควรปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเองและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
- กรณีที่จำเป็นต้องทำรายการนั้น เพื่อประโยชน์ของบริษัท
ให้ทำรายการนั้นเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอกที่มีข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกันกับที่วิญญูชนพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไป
ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
และต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ และ มีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการเกี่ยวโยง
- ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ไปเป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาในองค์กรอื่น
การดำรงตำแหน่งนั้นต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท และการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในบริษัท
- ในการพิจารณารายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of Interest) ระหว่างผู้ถือหุ้น กรรมการ
ผู้บริหาร และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งอื่น ซึ่งใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน
และเชื่อมั่นได้ว่าการเข้าทำรายการดังกล่าวมีความเป็นธรรม โปร่งใส สมเหตุสมผล
และเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งจัดให้มีแบบรายงาน
การเปิดเผยรายการที่สงสัยว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันกับผลประโยชน์ของบริษัท ไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการ
- บุคคลที่ดำเนินการใดๆ ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
จะต้องมีหน้าที่ในการรายงานการมีส่วนได้เสีย ดังนี้
-
กรรมการและผู้บริหารจะต้องมีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสียทันทีที่มีรายการเกิดขึ้นและเพื่อมั่นใจได้ว่าบริษัทได้มีการตรวจสอบเป็นประจำจึงกำหนดให้เลขานุการบริษัท
มีหน้าที่สำรวจรายการที่มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกสิ้นปี และรายงานประธานกรรมการ
และรายงานประธานคณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ อย่างน้อยปีละ หนึ่ง (1) ครั้ง
- ผู้บริหารระดับจัดการตั้งแต่ ผู้จัดการแผนก ถึง ผู้จัดการทั่วไป และพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อให้สอดคล้องมีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
จึงกำหนดให้ผู้บริหารในระดับจัดการทุกคนและพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสียทันทีที่มีรายการเกิดขึ้น และ/หรือ
รายงานการมีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกสิ้นปี โดยมอบหมายให้เลขานุการบริษัท
ซึ่งมีหน้าที่สำรวจและรายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รับทราบเป็นประจำหรืออย่างน้อยปีละ หนึ่ง (1) ครั้ง
- เพื่อประโยชน์ในการติดตามดูแลการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง
ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการบริหารจัดการของบริษัทและบริษัทย่อยตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ โดยคณะกรรมการบริษัท
ได้กำหนดให้มีการรายงานข้อมูลของรายการที่เกี่ยวโยงกันทุกไตรมาส และตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- ในกรณีบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าไปมีส่วนร่วมหรือถือหุ้นในกิจการที่แข่งขันกับธุรกิจของบริษัท
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ให้ดำเนินการดังนี้
- กรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษร
- พนักงาน จะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
และผู้บังคับบัญชาจะต้องรายงานให้เลขานุการบริษัททราบ
2.2 การรักษาความลับและการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทมีนโยบายรักษาความลับและการป้องกันข้อมูลภายใน เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร
และพนักงานถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
ที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ
หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
- ห้ามใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ในการหาประโยชน์ส่วนตน เพื่อผู้อื่น
หรือทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท และ/หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
- ห้ามใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัท
หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัท
- ห้ามใช้ทรัพย์สินของบริษัท เพื่อประโยชน์ส่วนตน และ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ห้ามใช้ข้อมูลของบริษัท ไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลภายนอก เพื่อสร้างประโยชน์ส่วนตัว และ/หรือผู้เกี่ยวข้อง
- ห้ามเปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ
ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทไปแล้ว
- กรรมการ ผู้บริหาร
และพนักงานที่มีส่วนรู้ข้อมูลภายในมีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ต่อคณะกรรมการเป็นประจำ
- กำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหาร ต้องแจ้งให้บริษัททราบทันทีที่ทำการซื้อ/ขายหลักทรัพย์
ผ่านเลขานุการบริษัท รวมถึงจัดส่งสำเนารายงานนี้ให้แก่บริษัทในวันเดียวกับวันที่ส่งรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
และเลขานุการบริษัทต้องรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ทราบรายไตรมาส
- กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
ที่รับทราบข้อมูลภายในที่มีนัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาซื้อขายหลักทรัพย์
จะต้องระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ในช่วง หนึ่ง (1) เดือนก่อนที่บริษัทจะมีการประกาศผลการดำเนินงาน
หรือข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน และในช่วงระยะเวลา ยี่สิบสี่ (24)
ชั่วโมงภายหลังจากที่ข้อมูลภายในของบริษัท ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นให้ผู้อื่นทราบจนกว่าจะได้มีการแจ้งข้อมูลนั้นให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
มาตรการลงโทษหากมีการกระทำการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น
บริษัทถือเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
จะต้องปฏิบัติตามนโยบายการใช้ข้อมูลภายในอย่างเคร่งครัด
3 ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัท
บริษัทส่งเสริมให้ผู้บริหาร พนักงาน ใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัท อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่ม
ความสามารถในการแข่งขันและการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติของผู้บริหารและพนักงาน ดังนี้
- ใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัท อย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด
- ช่วยกันดูแลมิให้ทรัพย์สินของบริษัท เสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ
การจัดทำเอกสาร และ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้บริหารและพนักงาน จะต้องจัดทำเอกสารต่างๆ ด้วยความสุจริต รอบคอบ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- ห้ามมิให้ปลอมแปลงหนังสือ รายงาน หรือเอกสารของบริษัท
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ให้ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท
ผู้บริหารและพนักงานไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
- ห้ามผู้บริหารและพนักงานเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงข้อมูลที่ทางบริษัท
ซื้อมาทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในระบบข้อมูลของบริษัท
หรือคัดลอกข้อมูลใส่ในสื่อบันทึกข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ห้ามผู้บริหารและพนักงาน เปลี่ยนแปลง ทำซ้ำ ลบทิ้ง หรือทำลายข้อมูลของบริษัท โดยไม่ได้รับอนุญาต
- ห้ามผู้บริหารและพนักงาน นำซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายมาใช้ และห้ามคัดลอกซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ด้วยเหตุผลใดๆ
โดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ
- ห้ามผู้บริหารและพนักงานปรับแต่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ที่นอกเหนือ
จากอุปกรณ์มาตรฐานที่บริษัทติดตั้งให้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นรายกรณีไป
- ห้ามผู้บริหารและพนักงานใช้อีเมล์ของบริษัท ในการส่งต่อข้อความที่กล่าวร้าย ทำให้เสื่อมเสีย
หรือข้อความที่หยาบคาย ลามก ข่มขู่ ก่อกวน หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
- ผู้บริหารและพนักงาน ควรใช้อินเทอร์เน็ตในการแสวงหาข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงาน
และจะต้องหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย หรือละเมิดศีลธรรมอันดีงาม
- ผู้บริหารและพนักงานควรใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ที่บริษัทจัดให้ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร
โทรศัพท์มือถือ อย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นหลัก
- ห้ามผู้บริหารและพนักงานเข้าถึงระบบหรือข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้มีไว้สำหรับตนโดยมิชอบ
- ห้ามผู้บริหารและพนักงานที่ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น
หรือไม่ได้มีไว้สำหรับตนโดยมิชอบ และปรารถนาหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
- บริษัท หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย โดยบริษัท
ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจสอบการใช้งานทรัพย์สินภายใต้ระบบสารสนเทศของบริษัทตามความเหมาะสม
- จริยธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-
1 การปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจด้วยความสุจริต เป็นธรรมและโปร่งใส ต่อต้านคอร์รัปชั่น
ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
และคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วยเสียของบริษัท
ตลอดจนการดูแลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
2 นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น
บริษัทตระหนักดีว่า ผู้ถือหุ้นคือเจ้าของกิจการ บริษัทมีหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
จึงกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต ภายใต้การตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
บนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อว่าเพียงพอ ถูกต้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรง ทางอ้อม
และทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท มีจุดมุ่งหมายโดยชอบและเหมาะสม
ไม่กระทำการโดยมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
- ปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติกรรมการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีของหลักการกำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น
- จัดการ ดูแล มิให้สินทรัพย์ของบริษัท เสื่อมค่า หรือสูญหายโดยมิชอบ
จัดให้มีระบบควบคุมภายในและระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเข้ามามีส่วนในการดูแลกิจการ
และให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการภายใต้การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
- รายงานสถานภาพของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามความเป็นจริง และทันต่อสถานการณ์
- แจ้งข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศของบริษัท ที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
และเพียงพอต่อการตัดสินใจแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และในเวลาที่เหมาะสม
- ดูแลไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ข้อมูลใดๆ
ของบริษัทซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เปิดเผยข้อมูลลับของบริษัทต่อบุคคลภายนอก และ/หรือดำเนินการใดๆ
ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
- จัดให้มีช่องทางสำหรับการแจ้งเบาะแสการกระทำที่ไม่สุจริตหรือข้อร้องเรียนต่างๆ ครอบคลุมถึงเว็บไซต์ ไปรษณีย์
และโทรคมนาคม และมีกระบวนการตอบสนองข้อร้องเรียน การคุ้มครอง ผู้ร้องเรียน
รวมถึงแจ้งผลการดำเนินการต่อผู้ร้องเรียนอย่างเป็นระบบและยุติธรรม
- จัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลหลากหลายช่องทาง รวมทั้งจัดทำเว็บไซต์ของบริษัท
ให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก และจัดทำข้อมูลด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายทั้งในรูปแบบ
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3 นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน
- บริษัทมีมาตรการคุ้มครองพนักงานที่ให้ข้อมูลแก่ทางการ กรณีมีการทำผิดกฎหมาย
หรือผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จะได้รับความคุ้มครอง บริษัท ไม่สามารถปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง (มาตรา
89/2) อันเนื่องมาจากสาเหตุแห่งการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายหรือการผิดจรรยาบรรณ
- บริษัทเคารพต่อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด มีนโยบายให้บุคลากรของบริษัท
ปฏิบัติต่อกันด้วยความเสมอภาค ยุติธรรม ให้เกียรติกันและกัน และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งการแบ่งแยกสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา เพศ สังคม สิทธิทางการเมืองในทุกๆ
ขั้นตอนตามแนวปฏิบัติพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน และไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
บริษัทเคารพในความเป็นส่วนตัวของ พนักงาน ไม่นำข้อมูลส่วนตัว เช่น เงินเดือน ประวัติการรักษาพยาบาล ครอบครัว
ไปเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอก หรือ ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
เว้นแต่เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องตามบทบังคับของกฎหมาย
- บริษัทกำหนดนโยบายและมีการบริหารจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ มากกว่าที่กฎหมายกำหนด
มุ่งเน้นให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทและผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงาน
รวมถึงสอดคล้องกับผลตอบแทนของบุคลากรในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน โดยจะต้องแข่งขันได้ เป็นธรรม
มีความยืดหยุ่นเพียงพอ และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
- บริษัทตระหนักว่า พนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพแก่บริษัท
จึงให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม โดยยึดหลักไม่เลือกปฏิบัติ
เท่าเทียมและเสมอภาคทั้งในเรื่องการจ้างงาน ผลตอบแทน การแต่งตั้ง โยกย้าย
และการพัฒนาศักยภาพควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรม เพื่อให้พนักงานเป็นผู้มีความสามารถและเป็นคนดีของสังคมด้วย
บริษัทจึงได้กำหนดหลักการปฏิบัติต่อพนักงานดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ ให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
- จัดเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรมสำหรับพนักงานและให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามศักยภาพ
- ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม และจัดระบบการทำงานให้พนักงานมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
รวมถึงมีสุขอนามัยที่ดี
- ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงานเพื่อฝึกทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพ
โดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
- แต่งตั้ง โยกย้าย ให้รางวัลหรือลงโทษพนักงาน ด้วยความสุจริตใจ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมของพนักงาน
- บริษัทจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงาน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัท
- ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานและสถานภาพของบริษัท ให้พนักงานทราบอย่างสม่ำเสมอ
- รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพของพนักงาน
- หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน
หรือคุกคามและสร้างความกดดันต่อสภาพจิตใจของพนักงาน
- สร้างจิตสำนึกที่ดีให้พนักงานรู้จักการเป็นผู้ให้ และเป็นพลเมืองดีของสังคม
- จัดให้มีช่องทางให้พนักงานสามารถร้องเรียน ในกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม
หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องที่อาจเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และมีกระบวนการแก้ไข
รวมถึงมาตรการคุ้มครองพนักงานผู้ร้อง ที่เป็นระบบและยุติธรรม
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการเสนอแนะและแนวทางในการปฏิบัติงาน และ/หรือข้อตกลงต่างๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน
ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ดีร่วมกัน ตลอดจนมีความสามัคคีภายในองค์กร
-
ส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความผูกพันต่อองค์กร
ตามความเหมาะสมและดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา
4 นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า
บริษัทมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าและเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า ตลอดจนเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า
ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ ความสำเร็จของธุรกิจบริษัท โดยปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความจริงใจและสุภาพอ่อนน้อม
และมีเจตจำนงที่จะแสวงหาวิธีการที่จะสนองความต้องการของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยกำหนดเป็นนโยบายและข้อปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้
- ผลิต ออกแบบ และส่งมอบสินค้าที่ผ่านการรับรองคุณภาพและได้มาตรฐาน ตรงตามข้อตกลงกับลูกค้าในราคาที่เป็นธรรม
ไม่ค้ากำไรเกินควร
- ให้ข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันเหตุการณ์ ต่อลูกค้า เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับสินค้า
การบริการ
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดได้
ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา
- ปฏิบัติกับลูกค้าด้วยความสุภาพ และเป็นที่วางใจของลูกค้า
- มีระบบการจัดการเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างปลอดภัย มีมาตรการรักษาความลับของลูกค้า
ไม่ส่งต่อข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า และไม่นำข้อมูลของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ ของตนเอง
และ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
- รับประกันสินค้า ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาที่เหมาะสม และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
- ให้มีระบบ/กระบวนการ ที่ให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ ความปลอดภัยของสินค้า และบริการ
รวมทั้งความรวดเร็วในการตอบสนองการส่งมอบ และการดำเนินการอย่างถึงที่สุด
เพื่อให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
- ริเริ่มสนับสนุนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของลูกค้า
- มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อผลิตสินค้า การใช้บรรจุภัณฑ์ และการขนส่งสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สร้างช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าทราบอย่างต่อเนื่อง
นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้
บริษัทมีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อคู่ค้า รวมถึงเจ้าหนี้ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทและตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งปฏิบัติตามพันธสัญญา ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
รายงานที่ถูกต้อง โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
- บริษัทเปิดโอกาสในการทำธุรกิจให้กับคู่ค้าและการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้า
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคและเป็นธรรม
- ใช้สินค้าและบริการที่มีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าถูกต้อง
และไม่สนับสนุนสินค้าหรือการกระทำที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
- ไม่นำทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ฯ ไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
หรือเพื่อประโยชน์ของผู่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- บริษัทถือว่าทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์เครื่องหมายทางการค้า
ความลับทางการค้า องค์ความรู้ หรือข้อมูลอื่นใด
เป็นทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัทพนักงานมีหน้าที่ต้องปกป้องและดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทให้พ้นจากการนำไปใช้
หรือ เผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
- ไม่พึงให้หรือรับ เงินหรือผลประโยชน์ หรือสิ่งของจากผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัท
หากการให้หรือรับนั้นอาจทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้รับมีใจเอนเอียงหรือมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นพิเศษกับผู้ให้
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท หรือปฏิบัติตามระเบียบการให้หรือรับเงินสนับสนุน ของขวัญ ของกำนัล
การเลี้ยงรับรอง และ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือสาธารณประโยชน์
- การให้สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด : ห้ามมิให้ผู้บริหาร และพนักงานเสนอผลประโยชน์หรือสิ่งจูงใจในรูปใดๆ
ทั้งสิ้น ต่อบุคคลภายนอกอื่นใด เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติในทางมิชอบ และก่อให้เกิดความขัดแย้ง
หรือปฏิบัติตามระเบียบการให้หรือรับเงินสนับสนุน ของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง และ การบริจาคเพื่อการกุศล
หรือสาธารณประโยชน์
- กรณีที่มีข้อมูลว่ามีการเรียก หรือการรับ หรือการจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตเกิดขึ้น
ต้องเปิดเผยรายละเอียดต่อคู่ค้าและร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยยุติธรรมและรวดเร็ว
หามาตรการป้องกันและให้โอกาสเท่าเทียมกันในการคัดเลือกโดยพิจารณาคุณสมบัติเป็นสำคัญ
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้กับคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด
- กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดได้ ต้องรีบแจ้งล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางแก้ไข
- ให้โอกาสคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย ปฏิบัติตามระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
6 นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า ด้วยการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับคู่แข่งขัน
ภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันสากล ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติการแข่งขันทางการค้า
ต่อต้านการผูกขาดทางการค้าหรือการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้มีอำนาจเหนือตลาดการให้/รับสินบนหรือผลประโยชน์อื่น
และการบิดเบือนกลไกการแข่งขัน ไม่ละเมิดความลับหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่แข่งด้วยวิธีฉ้อฉล
และไม่ทำลายคู่แข่งด้วยวิธีการอันไม่สุจริต ดังต่อไปนี้ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
ส่งเสริมการค้าเสรี และไม่ใช้วิธีทุ่มตลาด
- ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม เช่น การให้สินบน
หรือว่าจ้างพนักงานของบริษัทคู่แข่งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทคู่แข่ง
- ไม่ทำลายชื่อเสียงของบริษัทคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย
- ไม่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติร่วมกันเพื่อกระทำการหรือสมยอมในการเสนอราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อคู่ค้า
- ไม่ละเมิดและปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด
7 นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี
เพื่อให้บริษัทมีกระบวนการที่เป็นมิตรต่อพนักงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมและสนับสนุนใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มีมาตรการประหยัดพลังงาน
และส่งเสริมกระบวนการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดกระบวนการทางธุรกิจ
- จัดให้มีระบบการทำงานที่มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำงานอย่างเหมาะสม เช่น
การมีระบบป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน การจัดสถานที่ทำงาน ให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ
เพื่อให้บุคลากรตลอดจนผู้เข้ามาในบริษัททุกตนปลอดภัยจากอันตรายจากอุบัติเหตุและโรคภัย
-
กำหนดให้ผู้บริหารและพนักงานต้องเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อกิจกรรมทั้งปวงที่จะเสริมสร้างคุณภาพด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกถึงความปลอดภัย และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
- เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการดำเนินงานของบริษัท และสื่อสารกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างต่อเนื่อง
8 นโยบายความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะอยู่ร่วมกันกับชุมชนและสังคมอย่างมีความสุข ช่วยเหลือดูแลกันและกัน
และมีส่วนร่วมพัฒนาเพื่อชุมชนเข้มแข็งอยู่ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งมุ่งเน้นการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ
ของชุมชนทั้งใกล้ไกลตามนโยบายของบริษัทและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของภาครัฐ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน
- บริษัทจะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์และความยั่งยืนของชุมชนและสังคมเป็นสำคัญ
- บริษัทกำหนดให้มีการวางแผนและมาตรการป้องกันหรือแก้ไข เมื่อเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
อันเนื่องมาจากการดำเนินงานบริษัท
- จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
โดยการมีส่วนร่วมของพนักงานและส่งเสริมให้พนักงานร่วมปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมและมีจิตอาสา
- ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
- สร้างรายได้และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
โดยการสรรหาและสนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ชุมชนมีความรู้เพื่อการประกอบอาชีพและสามารถนำเอาความรู้ไปสร้างหรือส่งเสริมครอบครัวและชุมชนให้มีรายได้เพิ่มและสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง
- สื่อสารกับชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอและมีความโปร่งใส
ตลอดจนเผยแพร่และรายงานผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้รับทราบ
- จริยธรรมของพนักงาน
-
บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพพนักงานสู่ความเป็นพลเมืองดีของสังคม เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเป็นทั้ง
“คนเก่งและคนดี” และสามารถขยายผลไปสู่สังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจ โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1 การปฏิบัติต่อตนเอง
- เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท อย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต สุขุมรอบคอบ เป็นธรรม เที่ยงตรงปราศจากอคติ
และไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
- มีความสำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของสังคม
- ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
- พัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ
2 การปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้เกี่ยวข้อง และสังคม
- ต้องศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด ก่อนเสนอสินค้าหรือบริการต่อลูกค้า
เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
- ไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต
- ปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความสุภาพ ให้เกียรติลูกค้า และใช้วาจาที่สุภาพต่อลูกค้า
- ต้องมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการลูกค้า ให้ความสำคัญต่องานบริการและปฏิบัติอย่างเต็มที่
อันส่งผลให้งานบริการมีคุณค่าและมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศด้านบริการ
- ต้องเคารพการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากลูกค้า ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกค้า
เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท
- ปฏิบัติตามนโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
3 การปฏิบัติระหว่างพนักงาน
- มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน ช่วยเหลือการงานอื่นๆ ตามความเหมาะสม
- ใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพและเหมาะสม
- ต้องไม่ยุยง ใส่ร้ายป้ายสี หรือล้อเลียน อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สามัคคี
และพึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
- ต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดทางเพศต่อผู้ร่วมงาน
หากพบหรือทราบว่ามีการละเมิดทางเพศในระหว่างผู้ร่วมงานต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาทันที
- ต้องเป็นผู้มีวินัย ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการไม่เคารพนับถือผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติกับผู้ร่วมงาน
และผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความสุภาพ มีน้ำใจและมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี
- ไม่ชักจูงหรือชี้นำการตัดสินใจของเพื่อนร่วมงานในสิทธิเรื่องการเมือง
4 การปฏิบัติต่อองค์กร
- ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
อีกทั้งมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่
- ไม่ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือเพิกเฉยต่อระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของบริษัท
รวมทั้งคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
- ต้องไม่ดำเนินธุรกิจ และ/หรือ กิจกรรมใดๆ ที่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเห็นว่าเป็นธุรกิจ หรือ กิจกรรม
ที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
- บริษัทต้องจัดเก็บและแยกรายละเอียดข้อมูลให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทอย่างเคร่งครัด
- ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบริษัทต่อผู้ไม่มีสิทธิรับรู้ ตามระเบียบข้อบังคับ หรือข้อตกลงทางธุรกิจ
เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจดำเนินการและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- ต้องไม่นำข้อมูลบริษัท
ไปใช้เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือส่งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้อื่นเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์
- ไม่ผลิตหรือมีสิ่งผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง ไม่ว่าเพื่อการใช้เอง เพื่อการจำหน่าย หรือเพื่อบุคคลอื่นใด
- ต้องใช้ระบบการสื่อสาร และระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความรับผิดชอบและต้องไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก
การทำให้ผู้อื่นเสียหาย การทำลายขวัญ หรือส่งเสริมให้เกิดความไม่เป็นมิตรในสถานที่ทำงาน
- ต้องไม่ใช้ระบบการสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือขัดต่อนโยบาย ของบริษัท
และไม่ใช้อินเตอร์เน็ตหรือบริการที่คล้ายคลึงกัน
ในทางที่จะทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัท
- ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบริษัท ตลอดจนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ต้องไม่นำสินทรัพย์ของบริษัท ไปใช้ ขาย ให้ยืม หรือโอน โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าสินทรัพย์นั้นจะอยู่ในสภาพใด
- ต้องไม่เจตนาทำให้เสียหาย ก่อวินาศกรรมหรือทำลายสินทรัพย์ของบริษัท
- ต้องไม่ใช้สินทรัพย์ของบริษัท เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือกิจการภายนอก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
- ต้องช่วยหรือพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
หรือปกป้องเครื่องหมายการค้าที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท
- ต้องไม่จงใจทำรายงานหรือบันทึกที่เป็นเท็จ หรือผิดพลาด
รวมทั้งต้องไม่จงใจปิดบังหรือเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จหรือผิดพลาดต่อบริษัท
เมื่อพบรายงานหรือบันทึกที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที
- ใช้เวลาในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและให้มีประสิทธิผลตามที่กำหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับ
รวมทั้งไม่กระทำหรือชักจูงเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา
ให้ใช้เวลาปฏิบัติงานเพื่อกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบริษัท หรือผู้ถือหุ้น
- เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ทุจริต ประพฤติมิชอบ คอร์รัปชั่น หรือเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร
ต้องรายงานทันทีผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ (หมวดที่ 7 การแจ้งข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ)
ที่บริษัทกำหนดไว้
- การป้องกันการฟอกเงิน
-
บริษัท ยึดถือปฏิบัติหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน กล่าวคือ
บริษัทจะไม่รับโอนหรือเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์ หรือสนับสนุนให้มีการรับโอน เปลี่ยนสถานะทรัพย์สินต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด ใช้บริษัทเป็นช่องทาง
หรือเครื่องมือในการถ่ายเทผลประโยชน์ ปกปิด อำพราง แหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ก่อนการทำธุรกรรมกับคู่สัญญา ต้องทราบถึงประวัติความเป็นมาของแหล่งที่มาของเงินทุน
- กรณีพบเห็นธุรกรรมที่ไม่ปกติต้องรายงานให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
- หากมีข้อสงสัย ให้ปรึกษากับผู้บริหารสายงาน และผู้บริหารสายงานบัญชี หรือที่ปรึกษาบริษัท
- จรรยาบรรณว่าด้วยการทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยง
-
บริษัทได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการทำรายงานระหว่างกันหรือรายงานที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท
และบริษัทย่อย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นหลักและการทำรายการนั้น เสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก
- บริษัทจะปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ.2535 (รวมทั้งมีการแก้ไขเพิ่มเติม) และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และ/หรือ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- หากมีการเข้าทำรายงานระหว่างกันหรือรายงานที่เกี่ยวโยงกันที่เป็นธุรกรรมอื่น
บริษัทจะต้องเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคา รวมถึงความ
สมเหตุสมผลของรายการนั้น ๆ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันที่เกิดขึ้นบริษัทจะจัดให้มีบุคคลที่มีความรู้
ความชำนาญพิเศษ เช่น ผู้สอบบัญชีหรือผู้ประเมินราคา
ทรัพย์สินที่มีความเป็นอิสระเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยว
โยงกัน ดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
โดยที่ผู้ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการทำรายการ ดังกล่าว จะไม่เป็น
การโยกย้าย หรือถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทฯ แต่เป็นการทำรายการที่ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัท
และผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นสำคัญ
- การปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยรายการระหว่างกันในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ที่ได้รับ การตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทและแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1)
ด้วยในการทำรายการ ดังกล่าว บริษัทจะทำการตรวจสอบและดูแลธุรกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่มี
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ดังกล่าว
ที่มีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้น
- การดูแลให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมและการทบทวนจริยธรรมขององค์กร
-
บริษัทกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ ปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ใน คู่มือจริยธรรมธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด มิใช่การปฏิบัติตาม ความสมัครใจ และไม่สามารถอ้างอิงว่าไม่ทราบแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น
ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตน เข้าใจ และปฏิบัติตาม คู่มือจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน อย่างจริงจัง
บริษัทไม่พึงปรารถนาที่จะให้การกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหมาย ขัดกับหลักจริยธรรมที่ดี หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานผู้ใดกระทำผิดจริยธรรมที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และอาจจะได้รับโทษทางกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
คณะกรรมการบริษัท กำหนดให้มีการทบทวนคู่มือ “จริยธรรมธุรกิจ” เป็นประจำทุกปี
- การแจ้งข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ
-
1 ช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ
บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย มีช่องทางการร้องเรียน การแสดงความเห็น และแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมาย การทุจริตคอร์รัปชั่น ประพฤติมิชอบ หรือเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร โดยปฏิบัติตามนโยบายการรับเรื่องร้องเรียน จากนั้นบริษัทจะดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป และจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน ดังนี้
ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนต่อผู้รับเรื่องร้องเรียนตามที่กำหนดโดยช่องทาง ดังต่อไปนี้
1.1 ร้องเรียนโดยตรงเป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 ทางไปรษณีย์ : จ่าหน้าซองถึง
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- ผู้จัดการแผนกตรวจสอบภายใน
- เลขานุการบริษัท
-
ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 448,450 ถนนอ่อนนุช แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
1.3 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) :
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ : auditcommittee@mcgroupnet.com
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร : Chananyarak.P@mcgroupnet.com
- ผู้จัดการแผนกตรวจสอบภายใน : Somporn.u@mcgroupnet.com
- เลขานุการบริษัท : corpsecretary@mcgroupnet.com
- ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
หากร้องเรียนผ่านช่องผู้รับเรื่องร้องเรียนอื่นที่มิใช่ผ่านประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ขอให้คัดลอกจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (cc) ถึงประธานคณะกรรมการตรวจสอบด้วย
2 กระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียน
บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานมีช่องทางการร้องเรียนและแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ เพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาและสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ดังนี้
2.1 ผู้รับข้อร้องเรียนรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ
2.2 ผู้รับข้อร้องเรียนรายงานข้อเท็จจริงต่อกรรมการอิสระ ปฏิบัติหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริง
เพื่อพิจารณาการร้องเรียน โดยแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาความรู้
การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นต้น
2.3 มาตรการดำเนินการ
ผู้รับข้อร้องเรียนนำเสนอกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงและกำหนดมาตรการดำเนินการเพื่อระงับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
2.4 การรายงานผล ผู้รับข้อร้องเรียนมีหน้าที่แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบ หากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเอง
ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ ให้รายงานผลต่อประธาน กรรมการ และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท ทราบ
3 มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน
บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนตามหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะไม่ปลอดภัย
3.2 ผู้รับข้อร้องเรียนจะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับและคำนึงถึงความปลอดภัย
โดยได้กำหนดมาตรการคุ้มครองพนักงานที่ร้องเรียน และ/หรือ ผู้ที่ให้ข้อมูล
ตลอดจนผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล โดยจะได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เข่น
การเปลี่ยนตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน
เลิกจ้างอันเนื่องมาจากสาเหตุแห่งการแจ้งข้อร้องเรียน
- วินัย
-
บริษัทถือว่าจริยธรรมธุรกิจที่กำหนดไว้ในฉบับนี้ เป็นวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือเป็นการทำผิดวินัยตามระเบียบว่าด้วยการบริหาร
งานบุคคล
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ โดยการกระทำต่อไปนี้ถือเป็นความผิดทางวินัย
- การไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ
- แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้อื่นไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ
- ละเลย เพิกเฉย เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ ในกรณีที่ตนทราบ
- ไม่ให้ความร่วมมือ ขัดขวาง การสืบสวน/สอบสวน ข้อเท็จจริง
- การกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน จากการรายงานการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ